หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...วันสอง

วันที่่สอง

          เมื่่อพระอาจารย์สอบกรรมฐานแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียน 1 บท   คือ  กำหนดต้นใจ  หมายความว่า  เมื่อพระอาจารย์ได้สอบอารมณ์โดยละเอียด  นับแต่การเดิน การนั่ง  เวทนา  จิต  และการนอน   แล้วถามสภาวะต่อไป  เช่น  ถามว่าพองกับยุบอันไหนสั้น  อันไหนยาว  อันไหนปรากฎชัด  อันไหนไม่ปรากฎชัด  เป็นอันเดียวกันหรือเป็นคนละอัน  พองหนอครั้งหนี่งมีกี่ระยะ  เป็นต้น   เมื่อสอบเสร็จแล้วจึงเพิ่มบทเรียนได้

          การเพิ่มบทเรียนวันนี้  ได้แก่  ให้กำหนดต้นใจ   ต้นใจได้แก่  ความอยากนั่นเอง  เช่น  อยากลุก  อยากยืน  อยากเดิน  อยากนั่ง  อยากนอน  อยากถ่ายอุจจาระ  อยากถ่ายปัสสาวะ  เป็นต้น   จะยกมาพอเป็นตัวอย่าง  เช่น  เวลาจะลุก   ให้เอาสติกำหนดที่หัวใจ   ภาวนาว่า   อยากลุกหนอ  อยากลุกหนอ    เวลาลุกขึ้นให้ภาวนาว่า  ลุกหนอ  ลุกหนอ ฯ      เวลาจะเดิน  ให้ภาวนาว่า  อยากเดินหนอๆ  แล้วจึงเดิน เวลาเดินก็ให้ภาวนาว่า   ขาว  ย่าง  หนอ      ซ้าย  ย่าง  หนอ    ดังที่เคยปฏิบัติมาแล้วนั้น

          ข้อสำคัญ   เราจะทำอะไรทุกๆ อย่าง   ให้กำหนดต้นใจทุกๆ ครั้ง   เวลาจะรับประทานอาหารก็ให้ภาวนาว่า  อยากหนอๆ   เวลารับประทานให้ภาวนาว่า   รับประทานหนอๆ  หรือจะย่อว่า  ทานหนอๆ   ดังนี้ก็ได้    ให้เอาสติไว้ที่ขากรรไกรข้างล่าง

วันที่สาม  หรือ  วันที่ 4-5

          ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท   คือ  เพิ่มการกำหนดทวารทั้ง 5  ได้แก่  กำหนดทาง  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย   มีวิธีปฏิบัติดังนี้

    1.  เวลาตาเห็นรูป            ให้ตั้งสติไว้ที่ตา      ภาวนาว่า     เห็นหนอ  เห็นหนอ
    2.  เวลาหูได้ยินเสียง       ให้ตั้งสติไว้ที่หู        ภาวนาว่า     ได้ยินหนอ  ได้ยินหนอ
    3.  เวลาจมูกได้กลิ่น        ให้ตั้งสติไว้ที่จมูก    ภาวนาว่า     กลิ่นหนอ  กลิ่นหนอ
    4.  เวลาลิ้นได้รส             ให้ตั้งสติไว้ที่ลิ้น      ภาวนาว่า     รสหนอ  รสหนอ
    5.  เวลากายถูกต้อง  เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง     ให้ตั้งสติไว้ที่ตรงที่ถูก    ภาวนาว่า   ถูกหนอ ๆ

วันต่อไป

          เมื่อญาณที่  1-2  เกิดขึ้นแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียนอีก 1 บท  คือ  เพิ่มเดินจงกรมระยะที่ 2  ว่า  "ยกหนอ  ยกหนอ"
          ทุกครั้งที่ปฏิบัติ  ต้องให้เดินจงกรมระยะที่ 1 ก่อน  เดินประมาณ 30 นาที   แล้วจึงเดินระยะที่ 2 ประมาณ 30 นาที   รวมเป็น 1 ชัวโมง  จึงนั่งภาวนาว่า  "พองหนอ  ยุบหนอ"   ต่อไป

วันต่อไป

          เวลากำหนดยุุบหนอนั้น   ถ้ารู้สึกว่าทิ้งจังหวะไว้นานท้องจึงจะพองขึ้นมา   ให้เพิ่มคำว่า   นั่งหนอ   ต่อได้    ตอนที่ว่านั่งหนอนั้น   รูปนั่งปรากฎในใจดุจส่องกระจกดูตัวเอง   เห็นชั่วแวบเดียวเท่านั้น
          เมื่อต่อเข้ากับบทเรียนเดิมก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้  คือ
          ก.  เวลาเดินจงกรม  ได้ 2 ระยะ  คือ  ระยะที่ 1  "ขวา  ย่าง  หนอ"   "ซ้าย  ย่าง  หนอ"    ระยะที่ 2   "ยก  หนอ  เหยียบ  หนอ"   "ยก  หนอ  เหยียบ  หนอ"
          ข.  เวลานั่งปฏิบัติ  จะได้ 2 ระยะ  คือ  ระยะที่ 1  "พอง  หนอ  ยุบ  หนอ"    ระยะที่ 2   "พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ"     (ตอนยุบได้ 2 ระยะ  เพราะ  เพิ่มนั่งเข้าไปต่อยุบอีก 1 บท)

วันต่อไป

          เมื่อญาณที่  3-4  เกิดขึ้นแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท  คือ  เดินจงกรมระยะที่ 3  ว่า   "ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ"
          เมื่อต่อเข้ากับบทเรียนเดิม   ก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้  คือ
          ระยะที่ 1    ขวาย่างหนอ  ซ้ายย่างหนอ    ให้เดินประมาณ  10-20 นาที
          ระยะที่ 2    ยกหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10-20 นาที
          ระยะที่ 3    ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10-20 นาที

วันต่อไป

          เวลากำหนด  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ   เมื่อถึงตอนที่ว่า  นั่งหนอ  นั้น   ถ้ายังทิ้งระยะห่างอยู่  คือ  ท้องยังไม่พองขึ้นมาง่าย    ให้เพิ่ม  ถูกหนอ  ได้อีก    ถ้าผู้ใดกำหนดเพียง  พองหนอ  ยุบหนอ   ก็ได้สมาธิดีอยู่แล้ว    ไม่จำเป็นจะต้องเพิ่ม   นั่งหนอ  ถูกหนอ   ลงไปอีก   หรือคนเฒ่า  คนแก่  หรือเด็กๆ   ก็ไม่ควรเพิ่ม   แม้เวลาเดินจงกรม   จะใช้เพียง  ระยะที่ 1  ว่า    ขวาย่างหนอ   ซ้ายย่างหนอ   ก็ได้   เวลานั่งจะใช้เพียง  พองหนอ  ยุบหนอ  ก็ได้    เพราะถ้าเพิ่มบทเรียนมากกว่านั้น   อาจจะทำให้ฟั่นเฟือนและจะไม่ได้ผลดี

          เมื่อเพิ่ม  ถูกหนอ  เข้าไปอีก  จะได้วิธีปฏิบัติเต็มที่  ดังนี้  คือ  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ
          คำว่า  "ถูกหนอ"  ในที่นี้  หมายเอา  ถูกที่ก้นย้อย  คือ  ก้นย้อยหรือก้นกบ  ถูกกับพื้นแล้ว  เอาสติกำหนดลงไปตรงที่ถูกนั้น  ยุบ  นั่ง  ถูก   ทั้ง 3  คำนี้ต้องให้อยู่ในระยะเดียวกัน   เมื่อภาวนาว่า  ถูกหนอ  แล้วท้องจึงจะพองขึ้นมา

พระเทพสิทธิมุนี     22 .01.2524

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น