หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...วันต่อๆ ไป (ต่อ)

          เมื่อญาณที่  5-6  เกิดขึ้นแล้ว  ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท  คือ  เพิ่มเดินระยะที่ 4  ดังนี้   ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ

          เมื่อต่อกันเข้ากับบทเรียนเดิม  ก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้  คือ
          ระยะที่ 1     ขวาย่างหนอ   ซ้ายย่างหนอ    ให้เดินประมาณ  10-15 นาที
          ระยะที่ 2     ยกหนอ   เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10-15 นาที
          ระยะที่ 3     ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10-15 นาที
          ระยะที่ 4     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10-15 นาที

          เมื่อญาณที่  8  9  10  เกิดขึ้นแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท  คือ  เพิ่มเดินจงกรมระยะที่ 5  ดังนี้   ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ
         เมื่อต่อกันเข้ากับบทเรียนเดิม  ก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้  คือ
          ระยะที่ 1     ขวาย่างหนอ   ซ้ายย่างหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 2     ยกหนอ   เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 3     ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 4     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 5     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ    ให้เดินประมาณ  20 นาที

           เมื่อญาณที่  11  เกิดขึ้นแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท  คือ  เพิ่มเดินจงกรมระยะที่ 6  ดังนี้   ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ  กดหนอ   ประมาณ 10 นาที
         เมื่อต่อกันเข้ากับบทเรียนเดิม  ก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้  คือ
          ระยะที่ 1     ขวาย่างหนอ   ซ้ายย่างหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 2     ยกหนอ   เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 3     ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 4     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  เหยียบหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 5     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ระยะที่ 6     ยกส้นหนอ  ยกหนอ   ย่างหนอ  ลงหนอ  ถูกหนอ  กดหนอ    ให้เดินประมาณ  10 นาที
          ถ้ามีเวลามาก  ให้เดินระยะละ  10 นาที  รวมเป็น 1 ชั่วโมง   แล้วจึงนั่งสมาธิ   ถ้ามีเวลาน้อยก็ให้นักปฏิบัติลดลงได้เอง   คือ  จะเดินระยะละ 5 นาทีก็ได้  น้อยกว่านั้นมากกว่านั้นก็ได้   มีหลักสำคัญอยู่ว่า ถ้าเดินมากสมาธิดี   ถ้าเดินน้อยสมาธิอ่อนและได้ผลช้า

          ส่วนการนั่งนั้น   เพื่อเป็นการฝึก  สติ  สมาธิ  ปัญญา  ให้แก่กล้า  ให้เข้มแข็ง  ให้เพิ่มถูกได้อีกถึง 6 แห่ง  คือ
    1.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกก้นย้อยข้างขวา)
    2.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกก้นย้อยข้างซ้าย)
    3.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกเข่าข้างขวา)
    4.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกเข่าข้างซ้าย)
    5.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกตาตุ่มข้างขวา)
    6.  พองหนอ  ยุบหนอ  นั่งหนอ  ถูกหนอ   (ถูกตาตุ่มข้างซ้าย)

          เป็นอันได้ความว่า   บทเรียนนี้ครบบริบูรณ์แล้ว   ญาณที่  11  คือ  สังขารุเปกขาญาณ   ก็จะแก่กล้าขึ้นมาพอสมควร    เมื่อญาณนี้ครบองค์  6  ประการแล้ว   พระอาจารย์ต้องเตือนผู้ปฏิบัติมิให้ประมาท   ให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัดระมัดระวังให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้    เพราะจวนจะได้ผลดีเต็มที่แล้ว   อย่านอนใจอย่าชะล่าใจ    อย่านึกว่ายังไกลอยู่อันที่แท้ใกล้จะได้ผลดีอยู่แล้ว

          ถ้าผู้ใดไม่ประมาท   ผู้นั้นจะได้ผลดีโดยไม่นานเลย  ประมาณ 2-3 วันเท่านั้นก็จะเห็นผล    แต่ถ้าผู้ใดประมาทขาดการปฏิบัตติดต่อกัน   ผู้นั้นจะได้ผลช้าอาจจะเลยไป  5 วัน  10 วัน  หรือ  15 วันก็ได้    อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่่ก็เป็นได้    ถ้าหากว่าผู้นั้นตกอยู่ในความประมาท   ดังนั้น  ระยะเข้าด้ายเข้าเข็มนี้   จึงควรจะระมัดระวังให้มากที่สุดเท่าที่จะระวังได้    จนกระทั่งชีวิตก็ยอมสละได้
พระเทพสิทธิมุนี     22 .01.2524

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น