หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

อานิสงส์หรือผลที่จะได้รับจากการเจริญวิปัสสนา (ต่อ)

  • ทำกิเลส  คือ  โลภะ  โทสะ  โมหะ  มานะ  ทิฏฐิ  เป็นต้น  ให้เบาบางลง
  • ทำให้เป็นคนมีใจสุขุมเยือกเย็น
  • ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ  ดุจรถที่มีเครื่องห้ามล้อดีฉะนั้น
  • ทำให้สมาธิดี  ทำให้ความจำดีขึ้น  ทำให้เรียนหนังสือเก่ง  เป็นประโยชน์แก่รักเรียน  นักศึกษามาก
  • ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หายไป  เช่น  โรคประสาท  โรคอัมพาต  โรคกระเพาะ  โรคปวดศรีษะ  เป็นต้น

อานิสงส์หรือผลที่จะได้รับจากการเจริญวิปัสสนา

          ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า  "อเนกสหสฺสา"  แปลว่าการเจริญวิปัสสนานั้น  มีประโยชน์  มีอานิสงส์หลายร้อยหลายพัน  จนไม่สามารถจะนับประมาณได้   ดังนั้นในที่นี้จะขอยกมาพอเป็นตัวอย่างแต่เล็กน้อย  พอเหมาะพอควรแก่กาลเวลา  คือจะยกมาเพียงส่วนน้อยๆ เท่าที่สามารถจะนำมาได้เท่านั้น  คือ

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...ช่วงท้าย

อธิษฐาน

          เมื่อผู้ปฏิบัติมีสภาวะชัดดีแล้ว   พระอาจารย์ผู้สอนพึงให้อธิษฐานดังนี้  คือ

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...วันต่อๆ ไป (ต่อ)

          เมื่อญาณที่  5-6  เกิดขึ้นแล้ว  ให้เพิ่มบทเรียนได้อีก 1 บท  คือ  เพิ่มเดินระยะที่ 4  ดังนี้   ยกส้นหนอ  ยกหนอ  ย่างหนอ  เหยียบหนอ

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...วันสอง

วันที่่สอง

          เมื่่อพระอาจารย์สอบกรรมฐานแล้ว   ให้เพิ่มบทเรียน 1 บท   คือ  กำหนดต้นใจ  หมายความว่า  เมื่อพระอาจารย์ได้สอบอารมณ์โดยละเอียด  นับแต่การเดิน การนั่ง  เวทนา  จิต  และการนอน   แล้วถามสภาวะต่อไป  เช่น  ถามว่าพองกับยุบอันไหนสั้น  อันไหนยาว  อันไหนปรากฎชัด  อันไหนไม่ปรากฎชัด  เป็นอันเดียวกันหรือเป็นคนละอัน  พองหนอครั้งหนี่งมีกี่ระยะ  เป็นต้น   เมื่อสอบเสร็จแล้วจึงเพิ่มบทเรียนได้

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...วันแรก

วันแรก  ให้กรรมฐานไปปฏิบัติ 6  คือ

    1.  เดินจงกรม
          ให้ยืนตัวตรง   เอามือขวาไขว้ทับมือซ้ายก็ได้  วางไว้ตรงๆ ก็ได้  ไขว้หลังก็ได้ตามแต่ถนัด   ส่วนมากเอาไว้ข้างหน้า   ทอดสายตาไปประมาณ 4-5 ศอก   ให้ลืมตา  อย่าหลับตา   ให้สติจับอยู่ที่ร่างกาย  ภาวนาว่า   ยืนหนอๆ 3  หน   ต่อนั้นไปให้สติจับอยู่ที่สันเท้า   เดินช้าๆ ภาวนาอยู่ในใจว่า  "ขวา  ย่าง  หนอ"     ขณะที่ใจนึกว่า   ขวา   ต้องยกส้นเท้าข้างขวาขึ้นให้พร้อมกัน    เท้าที่ยกกับใจที่นึกต้องให้ตรงกัน    ขณะว่า   ย่าง   ต้องเคลื่อนเท้าไปอย่างช้าๆ ลากเสียงยาวๆ  แล้วหยุดนิดหนึ่งขณะว่า   หนอ   เท้าต้องลงถึงพื้นพร้อมกัน    เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกันภาวนาในใจว่า   "ซ้าย  ย่าง  หนอ"   เช่นเดียวกัน

บท 7 ทางไปนิพพาน

นิพฺพานํ   ปรมํ   สุขํ       พระนิพพานเป็นสุขอย่างยอด  คือเป็นยอดสุข

บท 6 ทางไปพรหมโลก (ต่อ)

          ฝ่ายนางลูกสุกรตัวนั้น   ตายจากชาตินั้นได้ไปเกิดในราชตระกูลในสุวรรณภูมิ   ตายจากนั้นเกิดในกรุงพาราณสี   ตายจากนั้นเกิดในเรือนพ่อค้าม้าที่ท่าสุปปารกะ   ตายจากนั้นเกิดในเรือนของนายเรือที่ท่าคาวิระ   ตายจากนั้นเกิดในเรือนของอิสรชนในเมืองอนุราชบุรี   ตายจากนั้นเกิดเป็นธิดาในเรือนของกุฎุมพีชื่อสุมนะในเภกกันตคาม  ในทิศทักษิณของเมืองนั้น  มีชื่อว่า  สุมนาตามชื่อของกุฏุุมพี    ต่อมาบิดาของนางได้พาย้ายไปสู่แคว้นทีฆวาปีอยู่ในบ้านชื่อมหามุนีคามฯ    อำมาตย์ของพระเจ้าทุฏฐคามณีนามว่า   ลกุณฎกะอติมพระไปที่บ้านนั้นด้วยกรณียกิจบางอย่าง   เห็นนางแล้วทำการมงคลอย่างใหญ่  ได้พานางไปสู่บ้านมหาปุณณคาม

บท 6 ทางไปพรหมโลก


          ทางไปพรหมโลก  ได้แก่สมถกรรมฐาน  มีอารมณ์ 40  แบ่งออกเป็น 7 หมวด  คือ  กสิณ 10   อนุสสติ 10   พรหมวิหาร 4   อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1   จตุธาตุววัตถาน 1     ซึ่งมีความพิศดารได้เขียนไว้อีกเล่มหนึ่งต่างหาก    โดยใช้ชื่อว่า  "จิตตภาวนา"  หรือ  "ธรรมปฏิบัติ"   และอีกเล่มหนึ่งได้เขียนเป็นทำนองปุจฉาวิสัชนา  ให้ชื่อว่า  "คำถาม-คำตอบ  เรื่องวิปัสสนากรรมฐาน"  ดังนั้น   ในเล่มนี้จะขอยกไว้ไม่นำมาแสดงไว้ในที่นี้อีก   ท่านผู้ประสงค์จะทราบก็โปรดติดตามหาดูได้ในหนังสือดังที่กล่าวมาแล้วนั้น

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

บท 5 ทางไปสวรรค์ (ต่อ)

มหากุศลมี 8 ประการ

  1. โสมนสฺสสหคตํ   ญาณสมฺปยุตฺตํ   อสงฺขาริกํ     เวลาทำบุญมีความดีใจ  ปรารถนานิพพาน  ทำบุญเอง
  2. โสมนสฺสสหคตํ   ญาณสมฺปยุตฺตํ   สสงฺขาริกํ     เวลาทำบุญมีความดีใจ  ปรารถนานิพพาน  มีผู้ชักชวนจึงทำบุญ

บท 5 ทางไปสวรรค์


          คำว่า "สวรรค์"  นี้  ตามรูปศัพท์ภาษาบาลี  แปลว่า  เลิศด้วยดีก็ได้   แปลว่า  มีอารมณ์ดีงามก็ได้   และแปลว่า  เป็นที่ข้องอยู่ติดอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายก็ได้

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

บท 4 ทางไปมนุษย์


          มนุษย์   ตามความหมายทางภาษาบาลีมีได้หลายนัย  เช่น  ผู้มีใจสูง,  ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งทีไม่เป็นประโยชน์,  ผู้เป็นเหล่ากอของผู้รู้,  ผู้ที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์   ก็เพราะได้อาศัยธรรมของมนุษย์  ได้แก่ศึล 5   และกุศลกรรมบถ 10    เป็นคุณธรรมที่จะเสกสรรปั้นปรุงให้เป็นคน    ถ้าใครขาดธรรมทั้ง 2 หมวดนี้   ก็จัดว่าเป็นคนไม่เต็มคน   เหตุดังนี้นท่านจึงแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 จำพวกคือ

บท 3 ทางไปสัตว์เดียรฉาน


          สัตว์เดียรฉาน   มีมากเช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  หมู  หมา  เป็ด  ไก่  นก  หนู  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  เป็นต้น   โดยส่วนมาก  โมหะคือความหลงเป็นผู้นำไปเกิด   ดังมีหลักฐานปรากฎอยู่ในอัฏฐกถารับรองไว้ว่า

บท 2 ทางไปเปรตและอสุรกาย


          เปรต  ได้แก่ผู้ที่่ตายไปแล้ว  ไปเกิดในอบายภูมิที่ 2 คือ  ภูมิของเปรต  เปรตนั้นมี 12 จำพวก  มีตัณหาชิตาเปรต  ปรทตูปชีวิเปรต  เป็นต้น   บางจำพวกปากเท่ารูเข็มก็มี  บางจำพวกมือเท่าใบตาลก็มี   บางจำพวกถูกไฟเผาอยู่เป็นนิจก็มี   บางจำพวกมีไฟพุ่งออกมาจากปากก็มี  บางจำพวกอาศัยทานที่บุคคลอื่นอุทิศให้ก็มี   เปรตนั้นชาวบ้านทั้งหลายชอบนิยมเรียกกันว่า  "ผีหลอก"

ทาง 7 สาย...บท 1 ทางไปนรก

          บทความแรกที่ตั้งใจนำเสนอนี้มุ่งหมายให้เห็นภัยการเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏนี้  อันนำไปสู่ความสลดสังเวช  ความเบื่อหน่าย และความปรารถนาทางสงบแห่งที่สุด  คือ หยุดเกิดหยุดตาย    ถือเป็นสัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบเนื่องยิ่งๆ ขึ้นไป


คำว่า "ทาง" แปลว่า ทำให้เตียน ทำให้สะอาด  ถ้าเป็นชื่อของธรรมะ  แปลว่า  ธรรมะเป็นเครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพาน  ธรรมะอันบุคคลผู้ต้องการพระนิพพานพึงแสวงหา  และแปลว่า  ธรรมะที่ฆ่ากิเลสไปก็ได้